ย้อนกลับไปปี 1993 Rorion Gracie พี่ใหญ่แห่งตระกูล Gracie (ลูกชายคนโตของ Helio Gracie ผู้ซึ่งเป็นบิดาแห่งวงการ Gracie Jiu-jitsu ที่หลายๆคนรู้จักกันดี) ได้จัดศึกๆ นึงขึ้นในประเทศแห่งเสรีภาพอย่าง USA โดยภายหลังสมาคมนี้ก็โด่งดังไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นของ UFC นั่นเอง โดย concept ที่ถูกวางไว้เพื่อโปรโมท UFC ในช่วงยุคแรกก็คือการจัดแมทช์ที่ค้นหา “ศิลปะการต่อสู้ที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก” จากนักสู้ที่ว่ากันว่าหินสุดๆของแต่ละแขนงในยุคนั้น มาปะลองฝีมือกัน และแน่นอน ตระกูล Gracie ที่ใช้ BJJ ก็เป็นแชมป์ในครั้งแรกนั้นด้วย
แต่จะมีซักกี่คนรู้ว่า การต่อสู้แบบ cross-over นั้นเกิดขึ้นมาก่อนปี 1993 มาตั้งหลายสิบปีแล้ว จากชายคนหนึ่งที่ท้าสู้กับนักสู้แขนงต่างๆ ทั่วทั้งยุโรป, อเมริกา ก่อนที่เขาจะตัดสินใจปักหลักอยู่ในประเทศบราซิล
Mitsuyo Maeda (前田 光世) (เกิดวันที่ 18/11/1878 – 28/11/1941 เสียชีวิตในวัย 63 ปี) เป็นสุดยอดนักยูโด (rank สูงสุดที่สายดำ 7 ดั้ง) และ นักสู้สายล่ารางวัลในรูปแบบการต่อสู้สไตล์ “no holds barred” หรือไม่มีกฏกติกา และยังเป็นที่รู้จักในนาม Count Combat หรือ Conde Koma ซึ่ง Conde ในภาษาสเปนแปลว่า “Count – ยศขุนนาง ซึ่งแสดงถึงการให้เกียรติ” และ Koma จากภาษาญี่ปุ่น “komatta – ปัญหา” แสดงถึงความเก่งกาจของ Maeda ที่เก่งเกินไปที่จะหาคู่ต่อสู้ได้นั่นเอง

Maeda เป็นบุคคลที่วางรากฐานของการพัฒนาศิลปะการต่อสู้ Brazilian Jiu-Jitsu รวมถึงการเป็นอาจารย์ให้กับ Carlos Gracie (พี่ชายของ Helio Gracie) และตระกูล Gracie โดยตัว Maeda เอง ชนะการต่อสู้มากกว่า 2,000 ไฟรท์ และความสำเร็จของเขาทำให้เขาถูกเรียกว่า “คนที่แข็งแกร่งที่สุดเท่าที่เคยมีมา” และก็ถูกยกย่องให้เป็นบิดาแห่ง Brazilian Jiu-Jitsu อีกด้วย
Maeda ได้ฝึกยูโดที่โรงเรียน Kodokan Judo Institute ในญี่ปุ่น โดยเขาเป็นคนที่ตัวเล็กมาก สูงเพียง 164 ซม. หนัก 64 กก. เท่านั้น แต่เขาก็โชคดีที่ปรมาจารย์ Kano Jigoro บุรุษผู้ก่อตั้งวิชายูโดได้เล็งเห็นศักยภาพและ ก็มอบให้ Tsunejiro Tomita (ดั้ง 4 ณ ตอนนั้น) เป็นผู้ฝึกสอน และเป็นครูคนแรก (และเพื่อนสนิท) ของ Maeda อีกด้วย
ช่วงปี 1904 Maeda ซึ่งอายุ 20 กว่าๆ , Tomita และ Satake (ภายหลังเขาได้สร้างโรงเรียนยูโดแห่งแรกในบราซิล) ได้เดินทางมาที่เมือง New York เพื่อสาธิตวิชายูโดให้ฝรั่งดู โดย Maeda สามารถทุ่มนักอเมริกันฟุตบอลได้ และ Tomita ทุ่มนักยิมนาสติก ต่อมาพวกเขาก็ไปสาธิตที่ศูนย์ฝึกทหาร โดย Maeda ทุ่มนักเรียนนายร้อยได้อย่างง่ายดาย โดยหลังจากนั้นพวกเขาก็ยังเดินสายไปอีกหลายรัฐเพื่อโปรโมทวิชายูโด
ช่วงปี 1908 Maeda ก็เดินทางไป Latin America และจัดงานหน้าโรงละครแห่งหนึ่ง โดยท้าคนทั่วไปว่า ใครสามารถทุ่มเขาได้ จะได้รับเงินรางวัล $250 และ ใครทีเขาทุ่มไม่ได้ เขาจะยอมจ่าย $50 โดยสำนักพิมพ์ The Mexican Herald รายงานผลว่าไม่มีใครซักคนสามารถชิงเงินรางวัลนั้นได้
ช่วงปี 1908-1914 Maeda ก็ยังวนเวียนอยู่หลายๆประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศษ คิวบา เม็กซิโก เพื่อโปรโมทยูโด และแข่งขันในหลายๆกฏ ตั้งแต่ jujutsu และ มวยปล้ำ
ปี 1915 เขาและเพื่อนๆ ได้เดินทางเข้ามาที่ประเทศบราซิล เมือง Belem (ภายหลังเป็นเมืองที่ Maeda ปักหลักและใช้ชีวิตในบั้นปลาย) และได้ต่อสู้กับนักสู้หลายแขนงเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นแชมป์ Greco-Roman จากตุรกี, catch-wrestlers, savate และ นักมวยสากลอีกหลายคน รวมไปถึงการต่อสู้ในปี 1921 กับนักสู้คาโปเอร่าที่โด่งดังมากนาม Pé de Bola โดย Maeda อนุญาติให้ Bola ใช้มีดได้ในการต่อสู้ และ Maeda สามารถจัดการนักสู้คนนี้ได้อย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่า Bola จะสูงถึง 190 ซม. และ หนักร่วม 100 กิโลกรัม


ในปี 1917 Maeda ก็ได้แต่งงานกับ D. May Iris และก็ตัดสินใจปักหลักในเมือง Belem ประเทศบราซิล เนื่องจากความหลงใหลในป่าอเมซอนและความผูกพันของสังคมคนญี่ปุ่น-บราซิลเลี่ยนที่เมืองนี้ ช่วยเหลือคนญี่ปุ่นให้มาอยู่ที่เมืองนี้ พร้อมทั้งเปิดการสอนศิลปะการต่อสู้ให้กับนักเรียนในเมืองนี้ หนึ่งในนั้นคือ Carlos Gracie วัย 14 ขวบ ซึ่งภายหลังเป็นคนที่พัฒนา Brazilian jiu-jitsu ร่วมกันน้องชาย Helio จนกระทั่งมาเป็น Gracie jiu-jitsu หรือ Jiu-jitsu สมัยใหม่ ในปัจจุบันนั่นเอง
Maeda หรือ Conde Koma เสียชีวิตด้วยโรคไตวายในวันที่ 28 พ.ย. 1941 รวมอายุ 63 ปี โดยตัวเขาเองไม่เคยรู้ว่าเขาได้รับการโปรโมทเป็นสายดำ 7 ดั้ง โดยสำนักฝึกวิชา Kodokan เพียงหนึ่งวันก่อนเขาเสียชีวิต
หลุมศพของ Maeda พร้อมกับภรรยาของเขาในเมือง Belem

สำหรับแฟนๆคนไทยบางท่าน อาจจะเคยได้อ่านการ์ตูนเรื่องราวของ Conde Koma เรื่องราวถือว่าสนุกมาก ถ้ายังไม่เคยลองไปหาอ่านกันได้ครับ

Yoshizo Machida วัย 62 ปี มาสเตอร์คาราเต้ ที่ปักหลักอยู่ที่บราซิล (พ่อของอดีตแชมป์ UFC Lyoto Machida) เคยกล่าวว่าเขาเคยทำความสะอาดกระดูกของ Maeda และรู้สึกได้ถึงความหนักและหนาของกระดูกแต่ละชิ้น และรู้สึกถึงพลังและความเข็มแข็งของนักสู้ที่ผ่านการสู้มาอย่างยาวนานอีกด้วย
